วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แนวทางการลดปริมาณขยะ

แนวทางการลดปริมาณขยะ

เปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากรและพลังงาน

1. การจัดการขยะด้วยแนวคิด 7 R

แนวคิดด้านการจัดการขยะเพื่อการปรับตัวต่อภาวะโลกร้อน คือก่อนจะทิ้งขยะควรหยุดคิดสักนิดว่าจะสามารถลดปริมาณขยะ หรือนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ แนวคิดที่น่าสนใจคือแนวคิด 7R ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1)      Rethink  ( คิดใหม่ )
เป็นการเปลี่ยนความคิดเรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้องเหมาะสมไม่ได้ทำตามกระแสแต่อย่างเดียว  แต่ทำจากใจหรือจากจิตสำนึกที่ดี  เช่น
-          การซื้อสินค้าที่ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2)      Reduce  ( ลดการใช้ )
เป็นการลดใช้ทรัพยากรให้เหลือเท่าที่จำเป็นหรือนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  เช่น
-           ใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าหวาย…เลิกง้อถุงพลาสติก
-          ใช้กล่องข้าวหรือปิ่นโต…ลดการใช้โฟม
-          ใช้แก้วน้ำส่วนตัว…งดใช้แก้วที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
-          พยายามอย่าใช้กระดาษสิ้นเปลือง  ควรพิมพ์และถ่ายเอกสารเท่าที่จำเป็น  จะช่วยลดการตัดต้นไม้และลดพลังงานในการผลิตได้
-          ลดเว้นขอบกระดาษลงจากมาตรฐาน  เช่น  การลดขอบเอกสารด้านซ้ายจาก 3.175 ซม. เป็น 2.5  ซม. และขอบขวาจาก  3.175 ซม. เป็น 1.25  ซม.สามารถใช้พื้นที่กระดาษเพิ่มได้มากขึ้นถึง  27%
-          ลองลดปริมาณน้ำในถังชักโครก  ด้วยการใส่ก้อนอิฐหรือขวดน้ำไปแทนที่น้ำ
-          ปิดน้ำเสมอเมื่อเลิกใช้งาน  ร่วมกันสอดส่องไม่ให้น้ำเปิดไหลทิ้งก่อนจะออกจากห้องน้ำ
-          รินน้ำดื่มให้พอดี  และดื่มให้หมดทุกครั้ง  หากดื่มน้ำเหลือนำมาใช้รดน้ำต้นไม้  หรือรวบรวมเพื่อทำความสะอาดสิ่งต่างๆ
-          ใช้แก้วน้ำตอนแปรงฟันและล้างหน้า  เนื่องจากการแปรงฟันโดยใช้น้ำจากแก้ว…จะใช้น้ำเพียง 0.5 – 1 ลิตร  แต่หากปล่อยน้ำไหลออกจากก๊อกตลอดเวลาจะใช้น้ำถึง 20-30  ลิตร
-          เลือกใช้ฝักบัวอาบน้ำและปิดน้ำในขณะที่ถูสบู่…จะใช้น้ำเพียง 30  ลิตร หากไม่ปิดอาจใช้ถึง 90  ลิตร แต่ถ้าใช้อ่างอาบน้ำต้องใช้น้ำถึง  110 – 200 ลิตร  เลยทีเดียว
-          ล้างผักและผลไม้ในอ่างหรือภาชนะที่มีการกักเก็บน้ำเพียงพอดีกว่าล้างโดยตรงจากก๊อก ประหยัดน้ำได้มากกว่า 50%
-          ทานอาหารให้เต็มอิ่ม  แต่อย่าเหลือทิ้ง…อย่าเหลือขว้าง  เพราะกว่าจะเป็นอาหาร  ต้องใช้พลังงานในการผลิตนะครับ
-          สนับสนุนการซื้อสินค้าในท้องถิ่นช่วยลดเชื้อเพลงในการขนส่งและช่วยพ่อค้าแม่ค้า  แถวบ้านให้มีงานทำ

3)      Reuse  ( ใช้ซ้ำ )
เป็นการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือใช้อีกครั้ง หรือหลายๆครั้ง เช่น
-          แยกประเภทกระดาษที่ใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อย่างเหมาะสมกระดาษดีนำมาใช้พิมพ์ใหม่เป็นกระดาษ 2 หน้าสำหรับเอกสารร่าง  กระดาษยับนำมาตัดเป็นกระดาษโน้ต  กระดาษ 2 หน้าทำเป็นถุงใส่ของ
-          บริจาคสิ่งของที่เลิกใช้แล้วแต่มีสภาพดีให้กับผู้ที่ขาดแคลน
-          ประกวดนวัตกรรมนำขยะกลับมาใช้ซ้ำ  เช่น  การนำกระดาษมาเป็นซองใส่ยา ฯลฯ
-          ใช้ถุงพลาสติกซ้ำหลายๆครั้งตามสภาพความเหมาะสม

4)      Recycle  ( นำกลับมาใช้ใหม่ )
เป็นการนำวัสดุที่หมดที่หมดสภาพแล้วหรือที่ใช้แล้วมาแปรสภาพด้วยกระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาใช้หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่  เช่น
-          คิดก่อนทิ้งว่าขยะ…ช่วยกันแยกประเภทขยะเพื่อให้ได้ขยะรีไซเคิลมากที่สุดและเพื่อช่วยลดขั้นตอนและลดพลังงานในการกำจัดขยะ  เนื่องจากขยะแต่ละชนิดมีวิธีการกำจัดที่ไม่เหมือนกัน
-          สร้างธนาคารขยะที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน  เพื่อการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-          คัดแยกขยะประเภทกระดาษ  แก้ว โลหะ…เพื่อการนำกลับไปรีไซเคิลได้ไม่รู้จบ
คัดแยกขยะประเภทกล่องนม…เพื่อบริจาคนำไปผลิตแผ่นกรีนบอร์ด

5)      Repair  ( ซ่อมแซม )
เป็นการซ่อมแซมให้ใช้การได้ใหม่  เช่น
-          กระป๋องพลาสติก  ที่แตกร้าวหรือเป็นรูใช้กาวประสานหรืออุดรูเหล่านั้นมันก็ยังใช้ได้เหมือนเดิม  ทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น การกลายเป็นขยะก็ยืดเวลาออกไป




6)      Reject  ( ปฏิเสธ )
เป็นการปฏิเสธการใช้ทรัพยากรแบบครั้งเดียวทิ้งหรือหารนำเข้าจากแดนไกล  หรือการปฏิเสธใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำลายโลก  เช่น พลาสติก  กล่องโฟมบรรจุอาหาร
7) Return ( ตอบแทน )
เป็นการตอบแทนสิ่งที่พวกเราได้ทำลายไปคืนสู่โลก เช่น
- ปลูกต้นไม้กันเยอะ ๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวคืนแก่โลก ช่วยโลกสดใส ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดปัญหาโลกร้อน

ที่มา : http://www.environnet.in.th/2014/?p=3917







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น