เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)
การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมก่อให้เกิดปัญหามลภาวะต่าง ๆและกำลังเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางไปทั่วโลกในปัจจุบัน ดังนั้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจึงมีการพัฒนาหลักการของเทคโนโลยีสะอาด (Cleaner Technology) การผลิตที่สะอาด (Cleaner Production) การป้องกันมลพิษ (Promotion Prevention) รวมไปถึงการลดการเกิดของเสียให้น้อยที่สุดในกระบวนการผลิต (Waste Minimization) ซึ่งเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ว่าจะเลือกใช้วิธีการใดในกระบวนการผลิตของตนเอง
1. เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)
เทคโนโลยีสะอาด คือ กลยุทธ์ที่ใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบ และพลังงานในการผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุน โดยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดของเสียจากแหล่งกำเนิด อันจะช่วยลดภาระในการกำจัดของเสีย รวมถึงก่อให้เกิดการใช้พลังงาน ทรัพยากร และวัตถุดิบต้นทุนอย่างคุ้มค่า อันเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้ประกอบการ ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อีกทั้งยังพัฒนาความสามารถ และประสิทธิภาพของธุรกิจ และเป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวสู่มาตรฐาน ISO 14000 ของอุตสาหกรรมอีกด้วย
1.1 หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
หลักการของเทคโนโลยีสะอาด มุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ การลดการใช้พลังงาน การใช้น้ำ และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ซึ่งหลักการของเทคโนโลยีสะอาดจะเน้นที่การป้องกันมากกว่าการแก้ปัญหา โดยลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด โดยวิธีการแยกสารพิษที่เกิดขึ้นจากการบวนการผลิตในทุกขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ ที่ทำให้เกิดผลพลอยได้ที่ไม่เป็นอันตราย รวมทั้งการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นโดยกระบวนการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse)
จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปหลักการของเทคโนโลยีสะอาดได้ดังนี้
การประยุกต์ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาด ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
1) การวางแผนและการจัดองค์กร (Planning and Organization)
2) การประเมินเบื้องต้น (Pre Assessment)
3) การประเมินผล (Assessment)
4) การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility)
5) การลงมือปฏิบัติ (Implementation)
หลังจากนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม ต้องมีการวางแผนและจัดการ มีการสำรวจข้อมูล ทำการประเมินเบื้องต้น และทำการประเมินในขั้นตอนต่อมา โดยในขั้นตอนการประเมินเบื้องต้นจะเกี่ยวข้องกับการสร้างแผนภาพกระบวนการผลิต พิจารณาการป้อนเข้าและการจ่ายออกของวัตถุดิบ ของแต่ละหน่วยปฏิบัติการ จัดทำสมดุลมวลสาร ทำให้ทราบปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้น รวมทั้งทำให้สามารถวิเคราะห์สาเหตุการเกิดของเสียอันนำไปสู่กระบวนการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้น โดยทางเลือกที่นำเสนอต้องมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ ลงทุนไม่สูง และสามารถคืนทุนได้ในระยะสั้น เมื่อวิธีการทางสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์จึงดำเนินการ และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
1.2 ตัวอย่างภาคอุตสาหกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ทุ่มงบ กว่า 1,200 ล้านบาท เปิดตัวเทคโนโลยีสะอาด “หอเผาระบบปิดระดับพื้นดิน และระบบดูดกลับไอไฮโดรคาร์บอน” เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมและระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยนำร่องที่จังหวัดระยอง หวังให้เป็นอุตสาหกรรมนิเวศต้นแบบของไทย
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีที จีซี เปิดเผยว่า ทาง พีทีที จีซี ได้ติดตาม และสอบถามปัญหาของชาวบ้านในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เมื่อทราบถึงปัญหา จึงตัดสินใจสร้างหอเผาระบบปิด ด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท ที่สามารถเผาไหม้ได้อย่างหมดจด ไม่มีเขม่าควันและแสง และมีผนังที่ดูดซับเสียงและความร้อน มองว่าการลงทุนครั้งนี้ เพื่อประโยชน์เชิงนิเวศ และเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมสีเขียว
ครั้งนี้เป็นการเปิดดำเนินการหอเผาระบบปิดระดับพื้นดิน และระบบดูดกลับไอไฮโดรคาร์บอน นำร่องที่จังหวัดระยอง ด้วยงบประมานลงทุนกว่า 1,200 ล้านบาท เพื่อเป็นการนำเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มาใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง จึงมีความปลอดภัย และเป็นการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทำให้ภาคอุตสาหกรรมกับชุมชนโดยรอบสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน โดยถือว่าเป็นเทคโนโลยีสะอาดแห่งแรกในประเทศไทย และใหญ่ที่สุดในเอเชียด้วย
1. เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)
เทคโนโลยีสะอาด คือ กลยุทธ์ที่ใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบ และพลังงานในการผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุน โดยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดของเสียจากแหล่งกำเนิด อันจะช่วยลดภาระในการกำจัดของเสีย รวมถึงก่อให้เกิดการใช้พลังงาน ทรัพยากร และวัตถุดิบต้นทุนอย่างคุ้มค่า อันเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้ประกอบการ ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อีกทั้งยังพัฒนาความสามารถ และประสิทธิภาพของธุรกิจ และเป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวสู่มาตรฐาน ISO 14000 ของอุตสาหกรรมอีกด้วย
1.1 หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
หลักการของเทคโนโลยีสะอาด มุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ การลดการใช้พลังงาน การใช้น้ำ และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ซึ่งหลักการของเทคโนโลยีสะอาดจะเน้นที่การป้องกันมากกว่าการแก้ปัญหา โดยลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด โดยวิธีการแยกสารพิษที่เกิดขึ้นจากการบวนการผลิตในทุกขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ ที่ทำให้เกิดผลพลอยได้ที่ไม่เป็นอันตราย รวมทั้งการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นโดยกระบวนการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse)
หรือ การนำกลับไปใช้ใหม่ (Recycle) จนกระทั่งของเสียเหล่านั้นไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก จึงนำไปบำบัดหรือกำจัดตามหลักวิชาการต่อไป
ภาพที่ 1 หลักการจัดการของเสียของเทคโนโลยีสะอาด
ที่มา : http://tps38-21.blogspot.com/2013/03/blog-post_1557.html
ภาพที่ 2 หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
ที่มา : http://jumpon-yangomoot.blogspot.com/2012/09/blog-post_18.html
จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปหลักการของเทคโนโลยีสะอาดได้ดังนี้
- การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด แบ่งเป็น 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ และ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต
1.1 การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ (Product Reformulation) อาจทำได้โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด หรือการออกแบบให้มีอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต (Process Change) แบ่งได้ 3 กลุ่ม อันประกอบด้วย
- การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ (Input Material Change) โดยเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ลดหรือเลิกการใช้วัตถุดิบที่เป็นอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารอันตรายเข้าไปในกระบวนการผลิต และพยายามใช้วัตถุดิบที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
- การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (Technology Improvement) เป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตหรือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ได้แก่ การปรับปรุงแผนผังโรงงาน การเพิ่มระบบอัตโนมัติ การปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต รวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อก่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด
- การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน (Operation Management) เป็นการบริหารระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพของกระบวนการผลิต ให้สามารถลดต้นทุนในการผลิตและลดการก่อมลพิษทางสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้มีขั้นตอนการผลิต กระบวนการทำงาน กระบวนการบำรุงรักษา รวมไปถึงการจัดการระบบ การบริหารงานในโรงงานอย่างชัดเจน
2. กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ แบ่งออกได้ 2 แนวทางคือ
2.1 การใช้ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน โดยการนำวัตถุดิบที่ไม่คุณภาพกลับมาใช้ประโยชน์ หรือ การใช้ประโยชน์จากสารหรือวัสดุที่ปนอยู่กับของเสีย โดยการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเดิม หรือ กระบวนการผลิตในขั้นตอนอื่น
2.2 การใช้เทคโนโลยีหมุนเวียน เป็นการนำเอาของเสียผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำทรัพยากรกลับมาใช้อีก
แนวคิดของเทคโนโลยีสะอาด คือ การป้องกันมลพิษที่แหล่งกำเนิด และการลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ให้น้อยที่สุด โดยทำได้ตามขั้นตอนที่เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้- การลดที่แหล่งกำเนิด
- การใช้หมุนเวียน
- การบำบัด
- การปล่อยทิ้ง
การประยุกต์ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาด ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
1) การวางแผนและการจัดองค์กร (Planning and Organization)
2) การประเมินเบื้องต้น (Pre Assessment)
3) การประเมินผล (Assessment)
4) การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility)
5) การลงมือปฏิบัติ (Implementation)
หลังจากนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม ต้องมีการวางแผนและจัดการ มีการสำรวจข้อมูล ทำการประเมินเบื้องต้น และทำการประเมินในขั้นตอนต่อมา โดยในขั้นตอนการประเมินเบื้องต้นจะเกี่ยวข้องกับการสร้างแผนภาพกระบวนการผลิต พิจารณาการป้อนเข้าและการจ่ายออกของวัตถุดิบ ของแต่ละหน่วยปฏิบัติการ จัดทำสมดุลมวลสาร ทำให้ทราบปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้น รวมทั้งทำให้สามารถวิเคราะห์สาเหตุการเกิดของเสียอันนำไปสู่กระบวนการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้น โดยทางเลือกที่นำเสนอต้องมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ ลงทุนไม่สูง และสามารถคืนทุนได้ในระยะสั้น เมื่อวิธีการทางสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์จึงดำเนินการ และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
1.2 ตัวอย่างภาคอุตสาหกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ทุ่มงบ กว่า 1,200 ล้านบาท เปิดตัวเทคโนโลยีสะอาด “หอเผาระบบปิดระดับพื้นดิน และระบบดูดกลับไอไฮโดรคาร์บอน” เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมและระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยนำร่องที่จังหวัดระยอง หวังให้เป็นอุตสาหกรรมนิเวศต้นแบบของไทย
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีที จีซี เปิดเผยว่า ทาง พีทีที จีซี ได้ติดตาม และสอบถามปัญหาของชาวบ้านในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เมื่อทราบถึงปัญหา จึงตัดสินใจสร้างหอเผาระบบปิด ด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท ที่สามารถเผาไหม้ได้อย่างหมดจด ไม่มีเขม่าควันและแสง และมีผนังที่ดูดซับเสียงและความร้อน มองว่าการลงทุนครั้งนี้ เพื่อประโยชน์เชิงนิเวศ และเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมสีเขียว
ครั้งนี้เป็นการเปิดดำเนินการหอเผาระบบปิดระดับพื้นดิน และระบบดูดกลับไอไฮโดรคาร์บอน นำร่องที่จังหวัดระยอง ด้วยงบประมานลงทุนกว่า 1,200 ล้านบาท เพื่อเป็นการนำเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มาใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง จึงมีความปลอดภัย และเป็นการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทำให้ภาคอุตสาหกรรมกับชุมชนโดยรอบสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน โดยถือว่าเป็นเทคโนโลยีสะอาดแห่งแรกในประเทศไทย และใหญ่ที่สุดในเอเชียด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น