วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ชนิดของข้อมูลและตัวแปรในภาษาซี

ชนิดของข้อมูลและตัวแปรในภาษาซี
ชนิดของข้อมูล (data type) ในการเขียนโปรแกรมหนึ่งๆ จะมีข้อมูลต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเช่น
การนับจำนวนรอบ (loop) ของการทำงานโดยใช้ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม หรือการแสดงข้อความ
โดยใช้ข้อมูลชนิดตัวอักษร จะเห็นว่าข้อมูลต่างๆ ถูกแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามจุดประสงค์ของการใช้งาน
นอกจากนี้ข้อมูลแต่ละชนิด ยังใช้เนื้อที่หน่วยความจำ (memory) ไม่เท่ากันจึงมีการแบ่งชนิดของข้อมูล
ดังแสดงในตารางด้านล่าง

ตัวแปร (variable) เนื่องจากข้อมูลถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำ การอ้างถึงตำแหน่งของข้อมูลนี้
จึงมีความซับซ้อน ไม่สะดวกต่อการเขียนโปรแกรม จึงมีการเรียกหน่วยความจำ ในตำแหน่งที่สนใจผ่านตัวแปร

การประกาศตัวแปร (variable declaration) คือการจองเนื้อที่ในหน่วยความจำสำหรับเก็บค่าบางอย่าง
พร้อมทั้งกำหนดชื่อเรียกแทนหน่วยความจำในตำแหน่งนั้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมมีความสะดวกในการเข้าถึง
ค่าที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำดังกล่าว

รูปแบบการประกาศตัวแปร 

type variable-name;โดย
type คือชนิดของตัวแปร (ตามตารางด้านล่าง)
variable-name คือชื่อของตัวแปร (ควรตั้งชื่อให้มีความหมายสอดคล้องกับการใช้งานและจำง่าย)

ตัวอย่างการประกาศตัวแปรแบบต่างๆ
int num; /*ประกาศตัวแปรชนิิดจำนวนเต็ม ชื่อ num*/
float x;
char grade, sex; /*ประกาศตัวแปรชนิิดอักขระ ชื่อ grade และ sex (ประกาศพร้อมกันในบรรทัดเดียว)*/
float temp = 123.45; /*ประกาศตัวแปรชนิดเลขทศนิยมพร้อมกำหนดค่า 123.45*/
char c = "A", t = "B"; /*ประกาศตัวแปรชนิดอักขระสองตัว พร้อมกำหนดค่าให้แต่ละตัว*/
int oct = 0555; /*ประกาศตัวแปรชนิดจำนวนเต็มชื่อ num พร้อมกำหนดค่าคือ 555 (เป็นเลขฐานแปดเพราะมี 0 นำหน้า)*/
int hex = 0x88; /*ประกาศตัวแปรชนิดจำนวนเต็มชื่อ hex พร้อมกำหนดค่าคือ 88 (เป็นเลขฐาน 16 เพราะมี 0x นำหน้า)*/

ข้อควรระวัง!!
ชื่อตัวแปรจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรหรือเครื่องหมาย "_" เท่านั้น
ภายในชื่อตัวแปรให้ใช้ตัวอักษร, ตัวเลข 0-9 หรือเครื่องหมาย "_"
ห้ามมีช่องว่างในชื่อตัวแปร
อักษรตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่ มีความแตกต่างกัน (case sensitive) เช่น Name, NAME และ name
ถือเป็นชื่อที่แตกต่างกัน
ห้ามซ้ำกับชื่อตัวแปรสงวน (reserved word)
ตัวแปรชนิดข้อความ (string)
ถ้าเราต้องการเก็บข้อความ "C programming language" ไว้ในตัวแปร จะทำได้อย่างไร?

ที่ผ่านมาเราทราบว่าเราสามารถเก็บข้อมูลชนิดตัวอักขระไว้ในตัวแปรชนิด char ได้ แต่ตัวแปรชนิด char นั้น
สามารถเก็บตัวอักขระได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ไม่สามารถเก็บทั้งข้อความได้ แล้วเราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร?

หากพิจาณาให้ดี ข้อความดังกล่าวประกอบด้วยตัวอักขระ (ตัวอักษร+สัญลักษณ์) หลายๆ ตัวเรียงต่อกันเป็นสาย
ซึ่งเป็นลักษณะของตัวแปรแบบ array (จะได้กล่าวภายหลัง)

การประกาศตัวแปรแบบ array เพื่อเก็บข้อมูลดังกล่าวสามารถทำได้ดังนี้
type variable-name[size];โดย
size คือขนาดของข้อความ+1 โดยขนาดที่เพิ่มขึ้นเพราะต้องเก็บอักขระสุดท้ายของข้อความเป็นอักขระ
\0 หรือ NULL เพื่อบอกว่าสิ้นสุดข้อความแล้ว

ตัวอย่างการประกาศตัวแปรแบบ array เพื่อเก็บข้อความ "C programming language" (22 ตัวอักษร) 
ทำได้หลายวิธีดังนี้
char[23] text = "C programming language";
/*กำหนดขนาดเพิ่มขึ้น 1 ตัว สำหรับเก็บค่า \0 หรือ NULL ในตำแหน่งสุดท้าย*/

char[23] text = {'C',' ','p','r','o','g','r','a','m','m','i','n','g',' ','l','a','n','g','u','a','g','e','\0'};
/*กำหนดขนาดเพิ่มขึ้น 1 ตัว สำหรับเก็บค่า \0 หรือ NULL ในตำแหน่งสุดท้าย*/

char[] text = "C programming language";
/*ถ้าไม่กำหนดขนาดของ array แล้ว ตัวแปรภาษาซีจะกำหนดให้โดยมีขนาดเท่ากับขนาดข้อความ+1*/

นอกจากนี้เรายังสามารถแก้ไขตัวอักษรที่เก็บอยู่ใน array ได้โดยการอ้างอิงตำแหน่งเช่น
text[0] = 'A'; /*แก้ตัวอักษรตัวแรก (เริ่มนับจาก 0) จะได้ผลลัพธ์คือ A programming language*/
text[2] = ' '; /*ผลลัพธ์คือ A  rogramming language (ใส่ช่องว่างแทนตัว p)*/

ฟังก์ชั่นในภาษาซี

ฟังก์ชั่นในภาษาซี
ฟังก์ชันในภาษา  C  โดยจะประกอบไปด้วยเนื้อหาหลัก ๆ  คือ  เรื่องที่หนึ่ง  ฟังก์ชันมาตรฐาน  เป็นฟังก์ชันที่บริษัทที่ผลิตภาษา  C  ได้เขียนขึ้นและเก็บไว้ใน  header  file  ภาษา  C  คือเก็บไว้ในแฟ้มที่มีนามสกุล  *.h  ต่าง ๆ  ส่วนเรื่องที่สอง  เป็นฟังก์ชันที่เขียนขึ้นหรือเรียกอีกอย่างว่าโปรแกรมย่อย  ที่ผู้เขียนโปรแกรมเขียนขึ้นมาใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่งตามความต้องการของงานนั้น ๆ  โดยรายละเอียดของแต่ละฟังก์ชันมีดังต่อไปนี้

1 ฟังก์ชันมาตรฐาน  (standard  functions)

เป็นฟังก์ชันที่บริษัทที่ผลิตภาษา  C  ได้เขียนขึ้นและเก็บไว้ใน  header  file  ภาษา  C  คือเก็บไว้ในแฟ้มที่มีนามสกุล  *.h  ต่าง ๆ  เมื่อต้องการใช้ฟังก์ชันใด  จะต้องรู้ว่าฟังก์ชันนั้นอยู่ใน  header  file  ใดจากนั้นจึงค่อยใช้คำสั่ง  #include<header  file.h>  เข้ามาในส่วนตอนต้นของโปรแกรม  จึงจะสามารถใช้ฟังก์ชันที่ต้องการได้  ซึ่งฟังก์ชันมาตรฐานเป็นฟังก์ชันที่บริษัทผู้ผลิต  C   compiler  เขียนขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้นำไปช่วยในการเขียนโปรแกรมทำให้การเขียนโปรแกรมสะดวกและง่ายขึ้น  บางครั้งเราอาจจะเรียกฟังก์ชันมาตรฐานว่า ”ไลบรารีฟังก์ชัน”  (library  functions)

ตัวอย่างที่  1  แสดงตัวอย่างฟังก์ชันมาตรฐาน  เช่น  ฟังก์ชัน  pow(x,y)  คือ  ฟังก์ชันที่ใช้หาค่ายกกำลังของ  xy  โดยที่ตัวแปร  x  และตัวแปร  y  มีชนิดเป็น  double  ซึ่งฟังก์ชัน  pow(x,y)  จะถูกเก็บไว้ใน  header  file  ที่ชื่อว่า  math.h  ดังนั้นจึงต้องใช้คำสั่ง  #include<math.h>  แทรกอยู่ในส่วนตอนต้นของโปรแกรมเหนือฟังก์ชัน  main( )  จึงจะสามารถเรียกใช้ฟังก์ชัน  pow(x,y)  มาใช้งานภายในโปรแกรมนี้ได้

สำหรับฟังก์ชันมาตรฐานที่จะกล่าวถึงในหัวข้อนี้จะกล่าว เฉพาะฟังก์ชันมาตรฐานที่จำเป็น  และเรียกใช้งานบ่อย ๆ   เท่านั้น  ซึ่งมีดังต่อไปนี้

1.1 ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์  (mathematic  functions)

เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับการคำนวณทางคณิตศาสตร์  และก่อนที่จะใช้ฟังก์ชันประเภทนี้  จะต้องใช้คำสั่ง   #include   <math.h>  แทรกอยู่ตอนต้นของโปรแกรม  และตัวแปรที่จะใช้ฟังก์ชันประเภทนี้จะต้องมีชนิด  (type)  เป็น  double  เนื่องจากผลลัพธ์ที่ได้จากฟังก์ชันประเภทนี้จะได้ค่าส่งกลับของข้อมูลเป็น  double  เช่นกัน

             ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่ควรทราบ  มีดังนี้

acos(x)               asin(x)                atan(x)
sin(x)                  cos(x)                 tan(x)
sqrt(x)                 exp(x)                pow(x,y)
log(x)                  log10(x)             ceil(x)
floor(x)                fabs(x)

 1) ฟังก์ชัน  acos(x)

เป็นฟังก์ชันที่ใช้คำนวณหาค่า  arc   cosine  ของ  x  โดยที่  x  เป็นค่ามุมในหน่วยเรเดียน  (radian)
รูปแบบ

      acos(x);

2) ฟังก์ชัน  asin(x)

เป็นฟังก์ชันที่ใช้คำนวณหาค่า  arc   sine  ของ  x  โดยที่  x  เป็นค่ามุมในหน่วยเรเดียน
                รูปแบบ

      asin(x);

3) ฟังก์ชัน  atan(x)

เป็นฟังก์ชันที่ใช้คำนวณหาค่า  arc   tan  ของ  x  โดยที่  x  เป็นค่ามุมในหน่วย
เรเดียน
            รูปแบบ

      atan(x);

4) ฟังก์ชัน  sin(x)
เป็นฟังก์ชันที่ใช้คำนวณหาค่า  sine  ของ  x  โดยที่  x  เป็นค่ามุมในหน่วยเรเดียน
              รูปแบบ

       sin(x);

  5) ฟังก์ชัน  cos(x)
เป็นฟังก์ชันที่ใช้คำนวณหาค่า  cosine  ของ  x  โดยที่  x  เป็นค่ามุมในหน่วย
เรเดียน
                รูปแบบ

       cos(x);
6) ฟังก์ชัน  tan(x)

เป็นฟังก์ชันที่ใช้คำนวณหาค่า  tan  ของ  x  โดยที่  x  เป็นค่ามุมในหน่วยเรเดียน

ผังงานFlowchart

ผังงานFlowchart
สัญลักษณ์ของผังงาน (Flowchart)

รูปภาพสัญลักษณ์ความหมายของสัญลักษณ์
Flowchart Start or Stopเริ่มต้นหรือจบ Flowchart (Start or Stop)
Flowchart Processการประมวลผล (Process)
Flowchart Input Or Outputส่วนนำเข้าข้อมูลหรือแสดงผลข้อมูล (Input or Output)
Flowchart Decisionการตัดสินใจ (Decision)
Flowchart Connectorจุดเชื่อมต่อ (Connector)
Flowchart Direction of Flowทิศทางการทำงาน (Direction of Flow)


หลักการนำสัญลักษณ์ต่างๆ มาเขียนเป็นผังงาน (Flowchart)
เมื่อเรารู้และสามารถจำความหมายต่างๆ ของสัญลักษณ์ได้แล้ว ถัดมาเราจะมาดูกันว่าสัญลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้มีรูปแบบการใช้แบบไหน จากรูปต่อไปนี้คือการนำสัญลักษณ์ต่างๆ ไปใช้เขียนเป็นผังงาน (Flowchart) ครับ


Flowchart ตัวอย่างการใช้งานสัญลักษณ์


หลักการใช้สัญลักษณ์ของผังงาน (Flowchart) คือ
 1)  ผังงาน (Flowchart) ที่เขียนขึ้น ต้องมีจุดเริ่มต้น และ จุดสิ้นสุด (Start and Stop)
 2)  สัญลักษณ์แต่ละรูปจะมีการเชื่อมต่อด้วย ทิศทางการทำงาน (Direction of Flow)
 3)  ทิศทางการทำงานจะต้องเริ่มต้นจากจุดเริ่มต้น และจบที่จุดสิ้นสุดเท่านั้น

เอาล่ะครับจบไปแล้วกับเรื่องสัญลักษณ์และวิธีการใช้แบบพื้นฐาน ในบทความต่อไปเราจะมาดูอย่างละเอียดถึงความหมายและวิธีใช้ของสัญลักษณ์ ต่างๆ กันครับ หากมีปัญหาสอบถามได้ใน Fan Page ของ Ami-Solution ได้เลยครับผม

สิ่งที่คุณจะทำได้หลังจากอ่านบทความนี้
 - คุณจะสามารถจดจำสัญลักษณ์ต่างๆของผังงาน (Flowchart) ได้
 - คุณจะรู้ว่าจะจัดเรียงสัญลักษณ์ต่างๆของผังงาน (Flowchart) ได้อย่างไร

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการออกแบบ(3มิติ)

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการออกแบบ(3มิติ)
Google SketchUp (โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างโมเดล 3 มิติ)
1.Google SketchUp (โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างโมเดล 3 มิติ)
Google SketchUp (โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างโมเดล 3 มิติ) 8.0.1
ดาวน์โหลด Google SketchUp โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างแบบจำลอง 3 มิติ สร้างโมเดลบ้าน ออกแบบประตู หน้าต่าง ออกแบบรถ ออกแบบตัวละคร วาดการ์ตูน ได้ทุกอย่าง ใช้ง่ายมาก
SketchUp Make (โปรแกรมทำแบบบ้าน ออกแบบห้อง สร้างโมเดล 3 มิติ)
2.SketchUp Make (โปรแกรมทำแบบบ้าน ออกแบบห้อง สร้างโมเดล 3 มิติ)
SketchUp Make (โปรแกรมทำแบบบ้าน ออกแบบห้อง สร้างโมเดล 3 มิติ) 15.3
ดาวน์โหลดโปรแกรม SketchUp Make ทำแบบบ้าน ออกแบบห้อง ออกแบบโมเดล 3 มิติ ต่างๆ ได้ง่ายๆ มีคลิปสอนวิธีการใช้งาน และ วิธีการให้ลองทำตาม อย่างละเอียด ฟรี ไม่มีค่าบริการใดๆ
ZWCAD (โปรแกรมเขียนแบบ เปิดไฟล์ .DWG เหมือน AutoCAD)
3.ZWCAD (โปรแกรมเขียนแบบ เปิดไฟล์ .DWG เหมือน AutoCAD)
ZWCAD (โปรแกรมเขียนแบบ เปิดไฟล์ .DWG เหมือน AutoCAD) 2015
โปรแกรมเขียนแบบ ZWCAD สำหรับ นักออกแบบมืออาชีพ มีคุณสมบัติเหมือน โปรแกรมเขียนแบบ AutoCAD แต่ราคาถูกกว่ามาก เปิดไฟล์ DWG ไฟล์ DXF และ ไฟล์ DWF ได้ ไม่มีปัญหา
Maya (โปรแกรม Maya ทำแอนิเมชั่น สร้างการ์ตูน Animation)
4.Maya (โปรแกรม Maya ทำแอนิเมชั่น สร้างการ์ตูน Animation)
Maya (โปรแกรม Maya ทำแอนิเมชั่น สร้างการ์ตูน Animation) 2015
ดาวน์โหลดโปรแกรม AutoDesk Maya โปรแกรมทำแอนิเมชั่น 3 มิติ (3D) ชั้นสูง เอฟเฟค ฟิลเตอร์ มากมาย ที่หนังแอนิเมชั่น ต่างๆ นิยมใช้สร้าง นำไปใช้สร้างการ์ตูน Animation 3 มิติ ได้เลย
Blender (โปรแกรม Blender ออกแบบ 3 มิติ 3D Animation)
5.Blender (โปรแกรม Blender ออกแบบ 3 มิติ 3D Animation)
Blender (โปรแกรม Blender ออกแบบ 3 มิติ 3D Animation) 2.75a
ดาวน์โหลด Blender ฟรีโปรแกรมออกแบบวัตถุ 3 มิติ โปรแกรม Animation 3 มิติ ออกแบบ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือ 3D Animation แจ๋วๆ โปรแกรมออกแบบ ได้ทั้ง ออกแบบรถ ตัวละคร
V-Ray for SketchUp (โหลด V-Ray ปลั๊กอินเสริมสำหรับ SketchUp)
6.V-Ray for SketchUp (โหลด V-Ray ปลั๊กอินเสริมสำหรับ SketchUp)
V-Ray for SketchUp (โหลด V-Ray ปลั๊กอินเสริมสำหรับ SketchUp)
ดาวน์โหลดโปรแกรม V-Ray for SketchUp ปลั๊กอินสำหรับติดตั้งเพื่อใช้งานควบคู่ไปกับโปรแกรม SketchUp เพิ่มความสมจริงและความคมชัดให้กับงานของคุณเหมือนเป็นอาคารจริงๆ กันเลยทีเดียว
Rhinoceros (โปรแกรม ออกแบบ CAD 3D ประสิทธิภาพสูง)
7.Rhinoceros (โปรแกรม ออกแบบ CAD 3D ประสิทธิภาพสูง)
Rhinoceros (โปรแกรม ออกแบบ CAD 3D ประสิทธิภาพสูง) 5.0 ซอฟต์แวร์ไทย
โปรแกรม Rhinoceros ออกแบบ CAD 3D ประสิทธิภาพสูง เหมาะกับงานออกแบบสินค้า
ผลิตภันฑ์จิวเวลลี่ เครื่องประดับ ที่มีความละเอียด ซับซ้อน ราคาคุ้มค่า ใช้งานง่ายมาก
 ProgeCAD 2013 Professional (โปรแกรมออกแบบ เปิดไฟล์ โปรแกรม AutoCAD ได้)
8.ProgeCAD 2013 Professional (โปรแกรมออกแบบ เปิดไฟล์ โปรแกรม AutoCAD ได้)
ProgeCAD 2013 Professional (โปรแกรมออกแบบ เปิดไฟล์ โปรแกรม AutoCAD ได้)
โปรแกรมออกแบบบ้าน ProgeCAD รองรับไฟล์จาก โปรแกรม AutoCAD ได้ทุกเวอร์ชั่น 2.5-2014 เหมาะสำหรับใช้ในการออกแบบ สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ทั้ง 3 มิติ และ 2 มิติ สามารถ แปลงไฟล์ PDF เป็น DWG ได้ ราคาถูก คุ้มค่า ประสิทธิภาพสูง
 Trimble SketchUp Pro (โปรแกรมออกแบบบ้าน ออกแบบภาพ 3 มิติ)
9.Trimble SketchUp Pro (โปรแกรมออกแบบบ้าน ออกแบบภาพ 3 มิติ)
Trimble SketchUp Pro (โปรแกรมออกแบบบ้าน ออกแบบภาพ 3 มิติ) 2015
ดาวน์โหลดโปรแกรม Trimble SketchUp Pro โปรแกรมออกแบบบ้าน งานก่อสร้าง สถาปัตยกรรมต่างๆ ช่วยให้คุณมองรายละเอียดของงานได้ง่ายขึ้น เพราะโปรเจคที่ทำเป็นรูปแบบของภาพ 3 มิติ
Room Arranger (โปรแกรมตกแต่งภายใน ออกแบบภายในบ้าน)
10.Room Arranger (โปรแกรมตกแต่งภายใน ออกแบบภายในบ้าน)
Room Arranger (โปรแกรมตกแต่งภายใน ออกแบบภายในบ้าน) 7.6

ดาวน์โหลดโปรแกรม Room Arranger โปรแกรมออกแบบภายใน เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว ง่ายๆ ใช้ได้ทั้งบ้าน อพาร์ทเม้นท์ ออกแบบหอพัก มีเฟอร์นิเจอร์ให้เลือกหลายแบบ

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการออกแบบ(2มิติ)

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการออกแบบ(2มิติ)
1.LibreCAD Download
โปรแกรมวาดแบบ 2 มิติ LibreCAD
LibreCAD (โปรแกรมออกแบบ โปรแกรมวาดแบบ 2 มิติ) : โปรแกรมออกแบบ LibreCAD เป็น โปรแกรมออกแบบ 2 มิติ หรือที่เรียกว่า CAD 2D (Computer-Aided Design Program) ที่อยู่ในโปรเจคโอเพ่นซอร์ส (Open-Source) หากได้ยินชื่อนี้เมื่อไหร่ พึงระลึกเอาไว้เลยว่า แจกฟรี แน่นอน เพราะเป็นการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากนักพัฒนาโปรแกรมฝีมือดีจากทั่วโลก ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน โปรแกรมออกแบบ ตรงนี้ได้เป็นพื้นที่ ที่จะมาร่วมออกแบบแลัพัฒนาร่วมกัน โดย โปรแกรมออกแบบ ตัวนี้สามารถออกแบบวัตถุต่างๆ ได้ 2 มิติ (2D) เท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ออกแบบวัตถุ สื่งของ หรืออะไรก็ได้ที่ง่ายๆ อาทิเช่น กลไกของเครื่องจักรกล วิศวกรออกแบบสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น เป็น โปรแกรมออกแบบบ้าน ได้ดี หรือจะไปใช้ ออกแบบครัวเรือน ออกแบบตึก ออกแบบอาคาร ออกแบบห้อง เพื่อใช้สอยในกิจการ หรือ สถานการณ์ ต่างๆ รวมไปถึงการ ออกแบบถุงพลาสติก ออกแบบเสื้อผ้า ด้านหน้าด้านหลัง ได้เป็นอย่างดี แล้วแต่ตามใจชอบละครับ

Program Features (คุณสมบัติและความสามารถหลักๆ ของ โปรแกรมออกแบบ 2 มิติ LibreCAD)

เป็นโปรเจคโอเพ่นซอร์ส พัฒนาขึ้นมาเพื่อ แจกฟรี 100% ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่มีโฆษณาแฝง ใดๆ ติดพ่วงมากับโปรแกรม ให้คุณไปใช้ออกแบบ วาดแบบ กันเลยฟรีๆ แต่หากต้องการบริจาค สามารถบริจาคเพื่อสนับสนุนทีมผู้พัฒนา ได้ที่หน้าเว็บของเขาได้เลย
มีหลากหลายภาษาให้เลือก มากถึงเกือบ 30 ภาษา จากทั่วโลก
ใช้งานได้กับทุกระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) อย่าง Windows และ Mac OS หรือแม้กระทั่ง Linux OS
มีเครื่องมีช่วยวาดแบบ ออกแบบ หลากหลาย อาทิเช่น เส้นตรง ส่วนโค้ง วงกลม ทรงเหลี่ยม วาดเส้น ลากเส้นอิสระ กำหนดจุดต่างๆ ฯลฯ อีกมากมาย
สามารถกำหนดขนาดสเกล (Scale) ของวัตถุได้แบบสมจริง
มีเครื่องมือการวัดขนาดของเส้น วัตถุต่างๆ ในโปรแกรมออกแบบ ตัวนี้ที่แม่นยำ
มีความสามารถในการขยายภาพเพื่อ ออกแบบ วาดแบบ ได้หลายเท่า และเสียความคมชัด ไปอย่างน้อยที่สุด เพื่อเพิ่มทัศนวิสัย ในการมองเห็นภาพที่ชัดเจน มากยิ่งขึ้น
มีระบบการสอนการใช้งาน การสนับสนุนการใช้งานโปรแกรมที่ดีมากๆ
ข้อเสียของมันคือ ไม่สนับสนุนภาพแบบ 3 มิติใดๆ และ สนับสนุนไฟล์เฉพาะ DXF และ CXF เท่านั้น
โปรแกรมมีขนาดเล็ก ไม่ถึง 30 MB.

และความสามารถอื่นๆ อีกมากมาย
โปรแกรมออกแบบบ้าน LibreCAD
2.AutoCAD LT 2016
โปรแกรม AutoCAD® LT 2016 เป็นโปรแกรมเขียนแบบและออกแบบ (CAD) 2 มิติ ของ AutoCAD® ในราคาประหยัดสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานด้านเขียนแบบ 2 มิติ เพียงอย่างเดียว ซึ่งพัฒนาจากผู้พัฒนาโปรแกรมรายใหญ่ที่สุดในโลก มีความเข้ากันได้ของไฟล์ DWG มีความน่าเชื่อถือและการมีประสิทธิภาพของเครื่องมือวาดภาพ 2 มิติ ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิผลของคุณ

AutoCAD® LT 2016 มีการใช้งานที่สมบูรณ์แบบของ 2 มิติ ในการออกแบบอย่างแม่นยำ และมีเทคนิคในการเขียนแบบอย่างถูกต้อง มีการออกแบบตามวัตถุประสงค์ตามความต้องการ มีการปรับปรุงคุณสมบัติ และเพิ่มวิธีใหม่ๆ ในการออกแบบ สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ ได้อย่างสมบูรณ์

โปรแกรม AutoCAD® LT 2016 จึงเหมาะสำหรับผู้ใช้งาน CAD งานเขียนแบบ และออกแบบทั่วไป 2 มิติ เช่น เขียนแบบอาคาร เขียนแบบโครงสร้าง เขียนแบบโยธา เป็นต้น ด้วยไฟล์ DWG แต่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายลิขสิทธิ์ให้น้อยที่สุด และต้องการให้เงินลงทุนนั้นคุ้มค่ามากที่สุด และโปรแกรม AutoCAD® LT 2016

เทคโนโลยีสะอาด

เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)

green 300x274 การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)            การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมก่อให้เกิดปัญหามลภาวะต่าง ๆและกำลังเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางไปทั่วโลกในปัจจุบัน ดังนั้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจึงมีการพัฒนาหลักการของเทคโนโลยีสะอาด (Cleaner Technology) การผลิตที่สะอาด (Cleaner Production) การป้องกันมลพิษ (Promotion Prevention) รวมไปถึงการลดการเกิดของเสียให้น้อยที่สุดในกระบวนการผลิต (Waste Minimization) ซึ่งเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ว่าจะเลือกใช้วิธีการใดในกระบวนการผลิตของตนเอง

1. เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)
2 300x199 การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)เทคโนโลยีสะอาด คือ กลยุทธ์ที่ใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบ และพลังงานในการผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุน โดยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดของเสียจากแหล่งกำเนิด อันจะช่วยลดภาระในการกำจัดของเสีย รวมถึงก่อให้เกิดการใช้พลังงาน ทรัพยากร และวัตถุดิบต้นทุนอย่างคุ้มค่า อันเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้ประกอบการ ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อีกทั้งยังพัฒนาความสามารถ และประสิทธิภาพของธุรกิจ และเป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวสู่มาตรฐาน ISO 14000 ของอุตสาหกรรมอีกด้วย
1.1 หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
หลักการของเทคโนโลยีสะอาด มุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ การลดการใช้พลังงาน การใช้น้ำ และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ซึ่งหลักการของเทคโนโลยีสะอาดจะเน้นที่การป้องกันมากกว่าการแก้ปัญหา โดยลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด โดยวิธีการแยกสารพิษที่เกิดขึ้นจากการบวนการผลิตในทุกขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ ที่ทำให้เกิดผลพลอยได้ที่ไม่เป็นอันตราย รวมทั้งการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นโดยกระบวนการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse)
หรือ การนำกลับไปใช้ใหม่ (Recycle) จนกระทั่งของเสียเหล่านั้นไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก จึงนำไปบำบัดหรือกำจัดตามหลักวิชาการต่อไป
3 300x180 การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)
ภาพที่ 1 หลักการจัดการของเสียของเทคโนโลยีสะอาด
ที่มา : http://tps38-21.blogspot.com/2013/03/blog-post_1557.html

4 1024x949 การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)
ภาพที่ 2 หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
ที่มา : http://jumpon-yangomoot.blogspot.com/2012/09/blog-post_18.html

จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปหลักการของเทคโนโลยีสะอาดได้ดังนี้
  1. การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด แบ่งเป็น 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ และ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต
1.1    การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ (Product Reformulation) อาจทำได้โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด หรือการออกแบบให้มีอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้น
-      การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต (Process Change) แบ่งได้ 3 กลุ่ม อันประกอบด้วย
-      การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ (Input Material Change) โดยเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ลดหรือเลิกการใช้วัตถุดิบที่เป็นอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารอันตรายเข้าไปในกระบวนการผลิต และพยายามใช้วัตถุดิบที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
-      การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (Technology Improvement) เป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตหรือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ได้แก่ การปรับปรุงแผนผังโรงงาน การเพิ่มระบบอัตโนมัติ การปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต รวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อก่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด
-      การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน (Operation Management) เป็นการบริหารระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพของกระบวนการผลิต ให้สามารถลดต้นทุนในการผลิตและลดการก่อมลพิษทางสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้มีขั้นตอนการผลิต กระบวนการทำงาน กระบวนการบำรุงรักษา รวมไปถึงการจัดการระบบ การบริหารงานในโรงงานอย่างชัดเจน
2.        กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ แบ่งออกได้ 2 แนวทางคือ
2.1    การใช้ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน โดยการนำวัตถุดิบที่ไม่คุณภาพกลับมาใช้ประโยชน์ หรือ การใช้ประโยชน์จากสารหรือวัสดุที่ปนอยู่กับของเสีย โดยการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเดิม หรือ กระบวนการผลิตในขั้นตอนอื่น
2.2    การใช้เทคโนโลยีหมุนเวียน เป็นการนำเอาของเสียผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำทรัพยากรกลับมาใช้อีก
 แนวคิดของเทคโนโลยีสะอาด คือ การป้องกันมลพิษที่แหล่งกำเนิด และการลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ให้น้อยที่สุด โดยทำได้ตามขั้นตอนที่เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้
  • การลดที่แหล่งกำเนิด
  • การใช้หมุนเวียน
  • การบำบัด
  • การปล่อยทิ้ง
การดำเนินการตามหลักการของเทคโนโลยีสะอาด คือ จะเน้นการลดมลพิษที่ต้นกำเนิดมากกว่าการแก้ปัญหาที่ปลายทาง กล่าวคือ ลดปริมาณการใช้ทรัพยากรลง โดยใช้หลักการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด ของเสียที่เกิดขึ้น ต้องมีการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดของเสียที่จะส่งไปสู่ขั้นตอนการบำบัดของเสียที่นำไปบำบัดผ่านกระบวนการที่มีประสิทธิภาพจึงสามารถปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมได้
การประยุกต์ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาด ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
1)      การวางแผนและการจัดองค์กร (Planning and Organization)
2)      การประเมินเบื้องต้น (Pre Assessment)
3)      การประเมินผล (Assessment)
4)      การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility)
5)      การลงมือปฏิบัติ (Implementation)

หลังจากนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม ต้องมีการวางแผนและจัดการ มีการสำรวจข้อมูล ทำการประเมินเบื้องต้น และทำการประเมินในขั้นตอนต่อมา โดยในขั้นตอนการประเมินเบื้องต้นจะเกี่ยวข้องกับการสร้างแผนภาพกระบวนการผลิต พิจารณาการป้อนเข้าและการจ่ายออกของวัตถุดิบ ของแต่ละหน่วยปฏิบัติการ จัดทำสมดุลมวลสาร ทำให้ทราบปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้น รวมทั้งทำให้สามารถวิเคราะห์สาเหตุการเกิดของเสียอันนำไปสู่กระบวนการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้น โดยทางเลือกที่นำเสนอต้องมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ ลงทุนไม่สูง และสามารถคืนทุนได้ในระยะสั้น เมื่อวิธีการทางสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์จึงดำเนินการ และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

1.2 ตัวอย่างภาคอุตสาหกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้
5 การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ทุ่มงบ    กว่า 1,200 ล้านบาท เปิดตัวเทคโนโลยีสะอาด “หอเผาระบบปิดระดับพื้นดิน และระบบดูดกลับไอไฮโดรคาร์บอน”  เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมและระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยนำร่องที่จังหวัดระยอง หวังให้เป็นอุตสาหกรรมนิเวศต้นแบบของไทย
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีที จีซี เปิดเผยว่า ทาง พีทีที จีซี ได้ติดตาม และสอบถามปัญหาของชาวบ้านในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เมื่อทราบถึงปัญหา จึงตัดสินใจสร้างหอเผาระบบปิด ด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท ที่สามารถเผาไหม้ได้อย่างหมดจด ไม่มีเขม่าควันและแสง และมีผนังที่ดูดซับเสียงและความร้อน มองว่าการลงทุนครั้งนี้ เพื่อประโยชน์เชิงนิเวศ และเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมสีเขียว
ครั้งนี้เป็นการเปิดดำเนินการหอเผาระบบปิดระดับพื้นดิน และระบบดูดกลับไอไฮโดรคาร์บอน นำร่องที่จังหวัดระยอง ด้วยงบประมานลงทุนกว่า 1,200 ล้านบาท เพื่อเป็นการนำเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มาใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง จึงมีความปลอดภัย และเป็นการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทำให้ภาคอุตสาหกรรมกับชุมชนโดยรอบสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน โดยถือว่าเป็นเทคโนโลยีสะอาดแห่งแรกในประเทศไทย และใหญ่ที่สุดในเอเชียด้วย

5W1H

5W1H
6 คำถามที่คุณจะต้องตอบให้ได้ก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจ (5W-1H)

     1. W – Who : ใครคือลูกค้าคุณ?
         คำถามนี้เป็นคำถามแรกที่ผมจะคิด นั่นก็คือ การวิเคราะห์ว่า ใคร คือกลุ่มเป้าหมายเวบไซต์ของคุณ? คุณจะต้องระบุ
     ลักษณะของกลุ่มเป้าหมายของคุณได้อย่างชัดเจน ได้เป็นที่แน่นอน เช่น เพศ, อายุ, อาชีพ, ฐานเงินเดือน, พื้นที่,
     พฤติกรรม ฯลฯ เพราะข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยทำให้คุณสามารถ วางแผนการตลาด และวางแผนในการผลิตสินค้าและบริการได้
     ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย


     2. W – What : อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ?
         คุณ ควรจะทราบว่าสินค้าหรือบริการรูปแบบไหนที่ ลูกค้าของคุณต้องการ และคุณก็ควรที่จะสามารถตอบสนองความต้อง
     การของลูกค้าคุณได้ และอะไรที่จะสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าหรือบริการของคุณจากคู่แข่งคุณได้? ในข้อนี้จะต้องใช้
     ความละเอียดอ่อน ศึกษาความต้องการของตลาด ศึกษาว่าลูกค้าต้องการสินค้าลักษณะแบบไหน


     3. W – Where : ลูกค้าคุณอยู่ที่ไหน?
         คุณจะสามารถหาลูกค้าของคุณได้จากที่ไหนบ้าง? และที่ไหนคือที่ๆ ลูกค้าของคุณมักจะไปอยู่ และ คุณสามารถสื่อสาร
     กับลูกค้าได้ ด้วยวิธีอะไร?


     4. W – When : เมื่อไรที่เค้าต้องการคุณ?
         คุณควรจะทราบถึงความต้องการของลูกค้าของคุณว่า เค้าจะต้องการสินค้าหรือบริการของคุณเมื่อไร? ในช่วงเวลาไหน?
     และต้องการบ่อยแค่ไหน? ซึ่งจะช่วยทำให้คุณสามารถกำหนดและวางแผนการต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้
     อย่างถูกต้อง เพราะสินค้าบางอย่างคุณไม่สามารถที่จะเก็บไว้ได้นานดังนั้นการวางแผนข้อนี้จะทำให้ความเสี่ยงในการดำเนิน
     งานของคุณน้อยลงอย่างมากที่สุด


     5. W – Why : ทำไมเค้าต้องมาซื้อหรือใช้บริการของคุณ?
         ทำไมลูกค้าเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ แทนที่จะซื้อจากคู่แข่ง? ทำไมคุณต้องเข้ามาทำธุรกิจทางด้านนี้?

     6. H – How : คุณจะเข้าถึงลูกค้าของคุณได้อย่างไร?
         คุณจะสามารถเข้าถึงลูกค้าคุณได้ด้วยวิธีไหน อย่างไร? ซึ่งคุณควรจะมีการวางแผนและกำหนดวิธีการที่คุณจะสามารถเข้า
     ถึงลูกค้าของคุณได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ตัวอย่างการออกแบบ

ตัวอย่างการออกแบบ
โลโก้ของแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้คนจำสินค้า จำธุรกิจเราได้ หรือถ้าทำออกมาไม่ดีเค้าก็อาจจะจำเราสับสนกับแบรนด์คู่แข่งไปเลยก็ได้ ซึ่งจากประสบการณ์ออกแบบโลโก้มาหลายปีของผู้เขียน เค้าก็สรุปมาเป็น 6 หลักการคิดเพื่อออกแบบโลโก้ออกมาให้ดี
1. อยากให้โลโก้ “สื่ออารมณ์” แบบไหน

ก่อนจะเริ่มเลือกสี เลือกรูปทรง เราต้องรู้ก่อนว่าอยากให้ออกมามีอารมณ์แบบไหน ซึ่งอารมณ์ที่เราเลือกก็ควรจะสอดคล้องกับหน้าตาของแบรนด์ที่เราต้องการด้วยครับ
 

ตัวอย่างเช่น โลโก้ของ Disney สื่อถึง “ความสนุก” และ “การมองโลกในแง่ดี” โดยตัวอักษรโค้งทำให้ดูสนุก และสอดคล้องกับแบรนด์ที่เป็นการ์ตูนน่ารัก ๆ สำหรับเด็กอีกด้วย ซึ่งถ้าเราเอาโลโก้แบบ Disney ไปใช้กับธุรกิจร้านขายของเท่ ๆ ก็คงไม่เหมาะ
นอกจากการดูรูปทรงแล้ว นักออกแบบโลโก้ควรศึกษาเรื่องการใช้สี และอารมณ์ของสีด้วย เช่น สีเขียว มีความหมายเกี่ยวกับการเติบโต สุขภาพ และธรรมชาติ นอกจากนั้นยังให้อารมณ์สดชื่น ผ่อนคลายอีกด้วย ในขณะที่ สีแดง สื่อถึงอันตราย และความกระตือรือร้น

การเลือก Font ให้สื่อถึงอารมณ์ก็สำคัญ ฟ้อนต์ Garamond, Helvetica, Comic Sans ต่างให้อารมณ์คนละแบบ ฟ้อนต์มีหาง (Serif) เช่น Garamond สื่อถึงความเคารพ ดั้งเดิม ซึ่งเหมาะกับเว็บไซต์ข่าว หรือมหาวิทยาลัยเก่าแก่ (แต่แอดมินรู้สึกว่าเว็บไซต์มหาวิทยาลัยในไทยส่วนใหญ่จะเน้นความ Modern มากกว่าความเก่าแก่ ใช้ฟ้อนต์ไม่มีหางเท่ ๆ กันหมด)
ส่วนฟ้อนต์แบบไม่มีหาง (Sans-serif) เช่น Helvetica จะให้ความรู้สึกModern สะอาดตา เหมาะกับธุรกิจเทคโนโลยี หรือสื่อโฆษณา
ฟ้อนต์อีกแบบคือแนวน่ารัก ๆ ไม่เป็นทางการ (Casual) แบบ Comic Sans ซึ่งจะเหมาะกับธุรกิจการ์ตูน อนิเมชั่น หรือร้านขายของเล่น

2. อยากให้โลโก้มี “ความหมาย” อย่างไร
โลโก้ที่ดีทุกโลโก้ล้วนมีความหมายอยู่เบื้องหลัง โลโก้ที่ดีของแบรนด์ไม่ใช่แค่โลโก้ที่เอาชื่อแบรนด์มาจับคู่กับรูปทรงนั้น ๆ เฉย ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมจึงไม่ควรเอาโลโก้สำเร็จรูปมาใช้กับธุรกิจเรา นักออกแบบโลโก้ต้องเข้าใจว่าแบรนด์ทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร มีอัตลักษณ์อย่างไร มี Vision อย่างไร ถึงจะออกแบบมาเป็นโลโก้ที่ดีได้
 
ดูตัวอย่างจากโลโก้ของเว็บไซต์ชื่อดัง Amazon.com จะเห็นว่ามีลูกศรสีส้มชี้จากใต้ตัว A ไปถึงตัว Z เป็นการบ่งบอกว่า “Amazon มีทุกอย่างขาย ตั้งแต่A ถึง Z” นอกจากนั้นลูกศรสีส้มยังโค้งเหมือนรอยยิ้ม สื่อถึงหน้าของลูกค้าที่จะยิ้มเมื่อได้รับสินค้าที่ถูกใจนั่นเอง
3. โลโก้ของเราจะมีอายุยืนยาวขนาดไหน
แน่นอนว่าคงไม่มีแบรนด์ไหนที่เปลี่ยนโลโก้ทุกปีเพื่อให้ลูกค้างงเล่น เพราะฉะนั้นนักออกแบบโลโก้ต้องคิดเสมอว่าในอีก 5 ปี, 10 ปี, 20 ปี โลโก้ของเราจะยังดูดีอยู่มั้ย
การเลือกดีไซน์โลโก้ตามเทรนด์ประจำปี หรือโทนสีประจำปีเป็นความคิดที่ไม่ดีครับ เพราะเทรนด์พวกนี้อยู่ไม่กี่ปีก็จะกลายเป็นของเก่าไป นอกจากนั้นเราจะพบว่ามีโลโก้หน้าตา โทนสีคล้าย ๆ เราเต็มไปหมดอีกด้วย
โลโก้ที่มีอายุยืนยาวมักจะเป็นโลโก้ที่เรียบง่าย และจดจำได้ง่าย ซึ่งอาจจะใช้ได้เป็น 10 – 20 ปีโดยที่ไม่ดูเก่าไปเลยด้วยซ้ำ เทคนิคทดสอบว่าโลโก้เราจะมีอายุยืนยาวมั้ย ให้ทำเสร็จแล้วปล่อยทิ้งไว้สักระยะหนึ่งก่อนนำไปใช้จริงครับ ดูมันทุกวัน ๆ แล้วเรารู้สึกเบื่อมันมั้ย ถ้าเรารู้สึกเบื่อแปลว่าโลโก้ของเราคงมีอายุอยู่ได้ไม่นาน

ลองดูตัวอย่างจากโลโก้ของ Apple จะเห็นว่าถ้า Apple เลือกใช้โลโก้ที่ออกแบบในปี 1976 อันซ้ายสุด โลโก้คงตกยุคไปนานแล้วครับ แต่ Apple เลือกใช้อันกลาง ซึ่งมีความเรียบง่าย ทำให้สามารถใช้ต่อมาได้จนถึงทุกวันนี้โดยการเปลี่ยนเป็นสีเรียบเท่านั้นเอง
4. โลโก้ของเรามี “ลักษณะเฉพาะ” มั้ย? โลโก้จดจำง่ายมั้ย?
โลโก้ที่ดีต้องมีลักษณะเฉพาะ ไม่เหมือนใคร และจดจำได้ง่าย ลูกค้าควรจะจดจำรูปทรงโลโก้ของเราได้ตั้งแต่แรกเห็น วิธีการทดสอบง่าย ๆ ว่าโลโก้ของเราจดจำง่ายหรือยาก คือ ให้ลองเอาโลโก้ไปให้เพื่อนของคุณดู เสร็จแล้วอีก 1 สัปดาห์กลับมาถามเพื่อนว่าโลโก้ที่เคยให้ดูมีลักษณะเป็นยังไง คนที่ไม่เคยเห็นโลโก้มาก่อนจะช่วยบอกได้ว่าโลโก้เรามีส่วนไหนที่จดจำง่าย
โลโก้ที่คล้ายกับโลโก้อื่นอาจทำให้คนสับสน และจำแบรนด์เราสลับกับแบรนด์ของคนอื่นได้
 
ด้านซ้ายของรูป คือ โลโก้ของ Path แอพ Social Network ที่ดังตอนแรก ๆ ส่วนด้านขวา คือ โลโก้ของ Pinterest บริการปักหมุดรูปภาพออนไลน์ชื่อดัง จะเห็นว่า 2 โลโก้นี้มีความคล้ายกันมาก ซึ่งทำให้ผู้ใช้จำผิดได้ง่าย ๆ เลยครับ
5. โลโก้ยังดูออกมั้ยตอนเป็นสีขาว – ดำ
ปกตินักออกแบบโลโก้หลาย ๆ คนจะเริ่มออกแบบจากสีขาว – ดำก่อนครับ ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าโลโก้ที่ออกมาจะมีรูปทรงที่จดจำได้ง่าย โดยไม่ต้องพึ่งพาสีของโลโก้ โลโก้ที่ดี คือ โลโก้ที่ลูกค้าบอกได้ว่าเป็นแบรนด์อะไร เพียงแค่เห็นรูปทรง
โลโก้ของเราจะถูกนำไปใช้ในสื่อหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีทั้งสื่อขาว-ดำ และสื่อที่มีสีครับ เพราะฉะนั้นการทำให้โลโก้ขาว – ดำมีจุดให้จดจำเพียงพอนั้นสำคัญมาก
 
จะเห็นได้ว่าโลโก้ของ National Geographic ถ้าเป็นสีขาว – ดำแบบด้านซ้ายจะเหลือแต่สีเหลี่ยมสีดำ ซึ่งดูออกยากมากครับว่าเป็นแบรนด์อะไร แต่ถ้าใส่สีเหลืองเข้ามาก็จะรู้เลยว่าเป็นโลโก้ National Geographic
6. โลโก้ถ้าใช้แบบย่อเล็ก ๆ จะดูออกมั้ย
(แอดมิน: จากที่ทำงานในบริษัทเน้นด้าน Printing ข้อนี้สำคัญมากครับ กาดอกจันทร์ 10 ดอก) บางครั้งโลโก้ก็ถูกนำไปย่อเล็กในสื่อต่าง ๆ ซึ่งถ้าออกแบบโลโก้มาไม่ดี อาจทำให้กลายเป็นก้อนอะไรไม่รู้ก็เป็นได้ครับ
 
จากรูปด้านบนจะเห็นได้ชัดเลยครับว่าโลโก้ Nike, McDonald, Twitter,และ WWF ดูออกง่ายมากในขนาดเล็ก แต่ถ้าเป็นโลโก้ GE หรือ Starbucks เราดูแทบไม่ออกเลยว่าเป็นโลโก้แบรนด์อะไร
หลักการคิดทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมาไม่ได้เป็นกฏตายตัวนะครับ แต่เป็นแนวทางที่ทำให้ออกแบบโลโก้ที่ดีได้ง่ายขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ต้องตรงตามวิธีในนี้เป๊ะ ๆ ก็เป็นโลโก้ที่ดีได้เช่นกัน แต่เราก็จะรู้ด้วยตัวเองว่าถ้าทำแบบไหนจะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
ก่อนออกแบบโลโก้ทุกครั้ง ลองถามคำถาม 6 ข้อนี้กับตัวเองดูครับ อาจจะทำให้โลโก้ของเราเป็นโลโก้ที่ดีมากขึ้นก็ได้

การออกแบบ

การออกแบบ
  การออกแบบ  หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน 
ความสำคัญของการออกแบบ มีอยู่หลายประการ กล่าวคือ
1.ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอนอย่างเหมาะสมและประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวางแผนการทำงานก็ได้
2. ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตรงกันอย่างชัดเจนดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจระหว่างกัน
3. เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมายซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นหรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผูออกแบบได้ทั้งหมด
4. แบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่ นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิตเป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้างนักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงานหรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง 
แบบเป็นผลงานจากการออกแบบ เป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของนักออกแบบ แบบมีอยู่หลายลักษณะ ดังนี้ คือ
  1. เป็นภาพวาดลายเส้น (drawing) ภาพระบายสี (Painting) ภาพถ่าย (Pictures)
หรือแบบร่าง (Sketch) แบบที่มีรายละเอียด (Draft) เช่น แบบก่อสร้าง ภาพพิมพ์(Printing) ฯลฯ ภาพต่าง ๆ ใช้แสดงรูปลักษณะของงาน หรือแสดงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับงาน ที่เป็น 2 มิติ
  2. เป็นแบบจำลอง (Model) หรือของจริง เป็นแบบอีกประเภทหนึ่งที่ใช้แสดงรายละเอียดของงานได้ชัดเจนกว่าภาพต่าง ๆ เนื่องจากมีลักษณะเป็น 3 มิติ ทำให้สามารถเข้าใจในผลงานได้ดีกว่า นอกจากนี้แบบจำลองบางประเภทยังใช้งานได้ เหมือนของจริงอีกด้วยจึงสมารถใช้ในการทดลอง และทดสอบการทำงาน เพื่อหาข้อบกพร่องได้

ประเภทของการออกแบบ 
1. การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design) เป็นการออกแบบเพื่อการก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่ง โดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิก รับผิดชอบเกี่ยว กับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง งานทางสถาปัตยกรรมได้แก่
- สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า  โบสถ์  วิหาร  ฯลฯ
- สถาปัตยกรรมโครงสร้าง เป็นการออกแบบเฉพาะโครงสร้างหลักของอาคาร
- สถาปัตยกรรมภายใน  เป็นการออกแบบที่ต่อเนื่องจากงานโครงสร้าง ที่เป็นส่วนประกอบของอาคาร
- งานออกแบบภูมิทัศน์ เป็นการออกแบบที่มีบริเวณกว้างขวาง  เป็นการจัดบริเวณพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม
- งานออกแบบผังเมือง เป็นการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบซับซ้อน ซึ่งประกอบ
   ไปด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก ระบบภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมาย หลาย ๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของผลิตภัณฑ์  งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
- งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
- งานออกแบบครุภัณฑ์
- งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์
- งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ
- งานออกแบบเครื่องประดับ  อัญมณี
- งานออกแบบเครื่องแต่งกาย
- งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์
- งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ   ฯลฯ
3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร ซึ่งจะรับผิดชอบในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิต  บางอย่างต้องทำงานร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย งานอกแบบประเภทนี้ได้แก่
- งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า
- งานออกแบบเครื่องยนต์
- งานออกแบบเครื่องจักรกล
- งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร
- งานออกแบบอุปกณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ ฯลฯ
4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design) เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่าง ๆให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น นักออกแบบเรียนว่า มัณฑนากร (Decorator) ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
- งานตกแต่งภายใน (Interior Design)
- งานตกแต่งภายนอก  (Exterior Design)
- งานจัดสวนและบริเวณ ( Landscape Design)
- งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display)
- การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
- การจัดบอร์ด
- การตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น  ฯลฯ
5. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design) เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์ ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ  หนังสือพิมพ์  โปสเตอร์  นามบัตร  บัตรต่าง ๆ  งานพิมพ์ลวดลายผ้า งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆงานออกแบบรูปสัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า  ฯลฯ

กระบวนการเทคโนโลยี

กระบวนการเทคโนโลยี 
กระบวนการเทคโนโลยีคืออะไร?
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์มีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายตามเงื่อนไขและปัจจัยในการดำรงชีวิตของแต่ละคน ทำให้บางครั้งมนุษย์ต้องพบเจอกับปัญหาหรือความต้องการที่จะทำให้การดำรงชีวิตดีขึ้น เราเรียกว่า สถานการณ์เทคโนโลยี"
การพิจารณาว่าสถานการณ์ใดเป็นสถานการณ์เทคโนโลยี จะพิจารณาจาก 3 ประเด็นคือ เป็นปัญหาหรือความต้องการของมนุษย์ เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม หรือเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์
การแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่พบในสถานการณ์เทคโนโลยี จะต้องใช้ทรัพยากร ความรู้และทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีวิธีการหรือกระบวนการทำงานในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ซึ่งเรียกกระบวนการนั้นว่า กระบวนการเทคโนโลยี

กระบวนการเทคโนโลยีมีกี่ขั้นตอน
กระบวนการเทคโนโลยี เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ กระบวนการเทคโนโลยี ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identify the problem)
2. รวบรวมข้อมูล (Information gathering)
3. เลือกวิธีการ (Selection)
4. ออกแบบและปฏิบัติการ (Design and making)
5. ทดสอบ (Testing)
6. ปรับปรุงแก้ไข (Modification and improvement)
7. ประเมินผล (Assessment)
 
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
ขั้นตอนแรกของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการหรือสถานการณ์เทคโนโลยีอย่างละเอียด เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาหรือความต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ศึกษาจากตำรา วารสาร บทความ สารานุกรม สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ระดมสมองจากสมาชิกในกลุ่ม โดยควรมีการรวบรวมข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น
ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ
การเลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการมากที่สุด โดยใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกจากวิธีการที่สรุปได้ในขั้นรวบรวมข้อมูล ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาคือ ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ความประหยัด และการนำไปใช้ได้จริงของแต่ละวิธี เช่น ทำให้ดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรพิจารณาคัดเลือกวิธีการโดยใช้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก
ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีการ แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ 2 มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน จากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้ ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ

ขั้นที่ 5 ทดสอบ
การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข
การปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น
ขั้นที่ 7 ประเมินผล
การประเมินผล เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

บางกิจกรรมอาจไม่ครบทั้ง 7 ขั้นตอนก็ได้ บางกิจกรรมขั้นตอนอาจสลับกันไปบ้างก็ได้แต่เมื่อนำไปใช้แล้ว นักเรียนรู้จักที่จะทำงานเป็นขั้นตอน เป็นระบบ ย้อนกลับมาดู หรือแก้ไขได้ตามขั้นตอนที่ทำไปได้

การนำกระบวนการเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการทำงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันนั้น สามารถช่วยให้ผู้นำไปใช้เกิดกระบวนการทำงานที่เป็นขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ง่ายขึ้

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

เทคโนโลยีเป็นวิชาที่ไม่อยู่ตามลำพังเพียงวิชาเดียว
ร่วมกับวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์เศรษฐศาสตร์
เทคโนโลยีต้องอาศัยองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ในการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ เครื่องใช้ที่ใช้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์
วิทยาศาสตร์ต้องอาศัยเครื่องมือที่สร้างจากเทคโนโลยีในการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสัมพันธ์กับความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเกิดการใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เทคโนโลยีก็เพื่อแก้ปัญหาทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีใช้เพื่อเสริมการแก้ปัญหา นั่นก็คือ การนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปคู่การปฏิบัตินั่นเอง

2. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์
การเรียนรู้การทำงานตามกระบวนการทางเทคโนโลยีต้องอาศัยทักษะทางภาษา ซึ่งเป็นศาสตร์หนึ่งของวิทยาศาสตร์

3.  ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์
เทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์เข้าใจประวัติความเป็นมาของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งช่วยกำหนดอนาคตและความเป็นอยู่ของมนุษย์

4.  ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับการศึกษา
ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษาอย่างกว้างขวาง มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้เกิดผลดีต่อการศึกษาอย่างมาก

5.  ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับเกษตรกรรม
ในปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร ทั้งการผลิตคิดค้นเครื่องจักรกลทางการเกษตรและพัฒนากระบวนการผลิตแทนการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใช้กำลังคน

6. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมการผลิต
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ผลิตได้ปริมาณมากขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนการผลิต และลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน

7. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์
 มีการใช้เทคโนโลยีมาปรับปรุงเส้นทางขนส่งเพื่อหาเส้นทางขนส่งที่ต้นทุนต่ำสุดทำให้การจัดส่งไม่ผิดพลาดเสียหายและทันเวลา เทคโนโลยีที่นำมาใช้ เช่น เทคโนโลยี GIS

ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี

ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์กับงานสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้วงการวิชาชีพหันมาปรับปรุงกลไกในวิชาชีพของตนให้ทันกับสังคมสารสนเทศ เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก จึงทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต การให้บริการส่งข่าวสาร SMS หรือการโหลดเพลงผ่านเครือข่ายโทรศัพธ์มือถือ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ยังได้สร้างระบบงานสารสนเทศในหน่วยงานของตนเองขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น การทำเว็บไซด์ของหน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางและคุ้มค่า โดยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและการจัดการ

ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทและความสำคัญมากในปัจจับัน และมีแนวโน้วที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแตการผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ (สุนทร แก้วลาย. 2531:166) พอสรุปได้ดังนี้
1.ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาสารในแต่ละวัน
2.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ
3.การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
4.ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่เรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
5.ช่วยในการจัระบบอัติโนมัติ เพื่อการจัดเก็บ การประมวลผล และการเรียกใชสารสนเทศ
6.ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
7.ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง โดยใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

ความหมายของเทคโนโลยี

ความหมายของเทคโนโลยี


ความหมายของเทคโนโลยี
 เทคโนโลยี  หมายถึง  การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น